ตอนที่ ๑๑
วิธีให้ไวยาวัจกรพ้นจากตำแหน่งหน้าที่
———————
ได้กล่าวมาในตอนต้นแล้วว่า ไวยาวัจกรเป็นผู้ช่วยงานเจ้าอาวาสที่สำคัญ มีฐานะเป็นพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และได้กล่าวถึงวิธีการแต่งตั้งพอเป็นแนวปฏิบัติ ดังนั้น ในตอนนี้จะกล่าวถึงวิธีให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ไวยาวัจกร เพื่อเป็นแนวปฏิบัติอีกส่วนหนึ่ง ไวยาวัจกรนั้นย่อมพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
๑) ตาย
๒) ลาออก
๓) เจ้าอาวาสผู้แต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งหน้าที่
๔) ขาดคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามความในข้อ ๔
๕) ให้ออกจากตำแหน่งหน้าที่
๖) ถูกถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่
ในกรณีพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เพราะเจ้าอาวาสผู้แต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง ให้รักษาการต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งไวยาวัจกรคนใหม่ ในกรณีที่ขาดคุณสมบัติ ให้เจ้าอาวาสสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง แล้วรายงานเจ้าคณะอำเภอ ในกรณีหย่อนความ สามารถด้วยเหตุใด ๆ ให้เจ้าอาวาสสั่งให้พ้นจากตำแหน่งโดยอนุมัติของเจ้าคณะอำเภอ การถอดถอนไวยาวัจกร ย่อมทำได้โดยอนุมัติของเจ้าคณะอำเภอ เพราะไวยาวัจกรประพฤติมิชอบด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งตามข้อ ๑๑
ในกรณีพ้นจากตำแหน่งของไวยาวัจกรเพราะเหตุใด ๆ ก็ตาม ไวยาวัจกรจะพ้นจากความรับผิดชอบในหน้าที่ ต่อเมื่อได้รับมอบหมายงานพร้อมด้วยทรัพย์สินและหลัก ฐานต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของตน แก่ผู้รับตำแหน่งหน้าที่แทนตนเรียบร้อยแล้ว
การสั่งให้ไวยาวัจกรพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ ต้องทำเป็นหนังสือและต้องแจ้งนายอำเภอท้องที่ในทุกกรณี
- ตัวอย่างหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งไวยาวัจกร
- ตัวอย่างหนังสือแจ้งการลาออก
- ตัวอย่างหนังสือขออนุมัติให้ไวยาวัจกรออกจากตำแหน่งหน้าที่
- ตัวอย่างหนังสือขออนุมัติถอดถอนไวยาวัจกร
- ตัวอย่างหนังสืออนุมัติ
- ตัวอย่างหนังสือเจ้าคณะตำบล (โต้ตอบ)
- ตัวอย่างหนังสือเจ้าคณะตำบล (สืบต่อ)
- ตัวอย่างคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
- ตัวอย่างคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติ
- ตัวอย่างคำสั่งให้ออกจากตำแหน่ง
- ตัวอย่างคำสั่งถอดถอนไวยาวัจกร
Hits: 15