ตอนที่ ๔ การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ที่กัลปนา หรือที่ดินที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์

ตอนที่ ๔

การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ที่กัลปนา

หรือที่ดินที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์

——————–

        ตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์มาตรา  ๓๓      กำหนดที่ดินซึ่งเป็นสมบัติของวัดและที่วัดจะได้เฉพาะผลประโยชน์ไว้ ๓ ประเภท  ดังบทบัญญัติว่า

        มาตรา ๓๓  ที่วัดและที่ซึ่งขึ้นต่อวัด  มีดังนี้

               (ที่วัด              คือที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น

               () ที่ธรณีสงฆ์  คือที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด

               () ที่กัลปนา     คือที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา

        เฉพาะที่วัดต้องกันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ก่อนจึงจะให้เช่าได้  ส่วนที่ธรณีสงฆ์และที่กัลปนา ให้เช่าได้ตามปกติ  แต่การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้จัดประโยชน์  วัดจะกระทำได้ภายในเงื่อนไขตามกฎกระทรวงข้อ ๔ ซึ่งมีความว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนา หรือที่วัดที่กันไว้จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาเกิน ๓ ปี  จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา

        วิธีการให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์นั้น วัดจะ ต้องทำสัญญาเป็นข้อผูกพันกับผู้เช่าอย่างมั่นคง และสัญญานั้นมี ๒ อย่าง คือ

               (๑) สัญญานานปี     หมายถึง สัญญาที่มีข้อผูกพันต่อกันเกิน ๓ ปี

               (๒) สัญญาธรรมดา หมายถึงสัญญาที่มีข้อผูกพันระยะสั้นคือไม่เกิน ๓ ปี

        ในการทำสัญญาธรรมดา  วัดอาจทำได้เอง  แต่ในทางปฏิบัติควรให้ผู้มีความรู้ทางกฎหมายเป็นที่ปรึกษาตรวจสอบร่างสัญญาก่อน เมื่อเห็นว่าไม่เสียเปรียบผู้เช่าแล้ว จึงลงนามในสัญญา

        สำหรับสัญญานานปี วัดจะต้องส่งร่างสัญญาพร้อมทั้งเอกสารการเช่าอื่น ให้กรมการศาสนาตรวจสอบและให้ความเห็นชอบ โดยให้ปฏิบัติดังนี้

        ๑)  ให้จัดทำรายงานขอรับความเห็นชอบในการทำสัญญาเช่านานปี  เสนอต่อเจ้าคณะตามลำดับและผ่านทางราชการจนถึงกรมการศาสนา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

        ๒)  ให้จัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการนี้ไปประกอบการพิจารณา คือ

                   ()  หนังสือแสดงเหตุผลในการให้เช่าที่ดิน

                   ()  แผนผังวัดฉบับสำเนา ๒ แผ่น แสดงที่ที่จะให้เช่า

                   ()  ร่างสัญญาเช่าพร้อมด้วยเอกสารแนบท้ายสัญญา

        ๓)  เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงลงนามในสัญญาได้

        ๔)  เมื่อได้ทำสัญญาเช่าแล้วให้นำสัญญาเช่านั้นไปขอจดทะเบียน

               (ก) ถ้าที่ดินแปลงนั้นมีโฉนด ไปจด ณ สำนักงานศึกษาธิกจังหวัด

                   () ถ้าที่ดินแปลงนั้นไม่มีโฉนด ไปจด ณ สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ

               () ให้นำหลักฐานการให้ความเห็นชอบไปแสดงด้วย

        ๕)  ในระหว่างรอทำสัญญา

                   (ก)  ห้ามมิให้วัดรับเงินหรือสิ่งตอบแทนใด ๆ จากผู้ขอเช่า

                   (ข)  ห้ามมิให้ผู้ขอเช่าเข้าไปปลูกสร้างสิ่งใด ๆ โดยเด็ดขาด

Hits: 38