บทที่ ๒
พระสังฆาธิการ
———————
แต่เดิมมานั้น การปกครองคณะสงฆ์ ได้ยึดหลักพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญการปกครอง ได้อาศัยอำนาจรัฐและจารีตเป็นหลักอุดหนุน กาลใดเกิดความไม่เรียบ ร้อยในคณะสงฆ์ จนเป็นเหตุขัดข้องและจำเป็นต้องพึ่งรัฐ กาลนั้นก็ได้อาศัยอำนาจรัฐช่วยแก้ไข ดังเช่นสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช การคณะสงฆ์และการพระศาสนาได้ดำเนินมาด้วยลักษณะอย่างนี้ และเป็นที่ยอมรับนับถือของพุทธศาสนิกทั่วไป ตลอดจนองค์ประมุขของประเทศ เพราะคณะสงฆ์ได้ดำเนินกิจการคณะสงฆ์และกิจการพระศาสนา เป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่ไพศาลแก่คณะสงฆ์และประเทศชาติอันเป็นส่วนรวม ครั้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระมหากษัตริย์ทรงถวายอำนาจรัฐ เพื่อให้จัดระบบการปกครองคณะสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก ด้วยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์รัตนโกสินทรศก ๑๒๑ คณะสงฆ์จึงได้อาศัยอำนาจรัฐจัดการปกครองตามกฎหมายแต่นั้นมา ครั้นถึงรัชกาลที่ ๘ พระมหากษัตริย์ได้ทรงตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับแรก เพื่อให้จัดระบบการปกครองคณะสงฆ์ใหม่ โดยมีรูปแบบคล้ายกับการปกครองราชอาณาจักรตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และให้อำนาจบัญญัติสังฆาณัติ ตรากติกาสงฆ์ ออกกฎองค์การเป็นต้นใช้บังคับได้ เมื่อบัญญัติสังฆาณัติระเบียบบริหารการคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค และสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ ได้กำหนดนามรวมตำแหน่งผู้บริหารการคณะสงฆ์ว่า “พระคณาธิการ” ต่อมาในรัชกาลปัจจุบัน โปรดตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ยกเลิกฉบับที่ ๒ เสีย และให้อำนาจตรากฎมหาเถรสมาคมเป็นต้นใช้บังคับได้ เมื่อตรา กฎมหาเถรสมาคมได้กำหนดนามรวมตำแหน่งผู้ปกครองคณะสงฆ์ว่า “พระสังฆาธิการ”
- ส่วนที่ ๑ พระคณาธิการ
- ส่วนที่ ๒ พระสังฆาธิการ
- ส่วนที่ ๓ ความต่างแห่ง พระคณาธิการกับพระสังฆาธิการ
- ส่วนที่ ๔ คุณสมบัติพระสังฆาธิการ
- ส่วนที่ ๕ จริยาพระสังฆาธิการ
Views: 31