ส่วนที่ ๑
หนังสือราชการ
————
ก่อนที่จะพูดถึงชนิดของหนังสือราชการ ขอให้ความหมายของถ้อยคำโดยสังเขป
๑. เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนคำพูด ชื่อว่า “หนังสือ”
๒. งานของประเทศหรือของพระเจ้าแผ่นดิน ชื่อว่า “ราชการ”
๓. หนังสือซึ่งเป็นหลักฐานเกี่ยวกับงานของประเทศ หรือของพระเจ้าแผ่นดิน หรือเอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ชื่อว่า “หนังสือราชการ”
๔. งานของคณะสงฆ์ ชื่อว่า “การคณะสงฆ์”
๕. หนังสือซึ่งเป็นหลักฐานเกี่ยวกับงานของคณะสงฆ์ หรือเอกสารที่เป็นหลักฐานในการคณะสงฆ์ ชื่อว่า “หนังสือการคณะสงฆ์”
หนังสือราชการนั้น แยกโดยลักษณะเป็น ๕ คือ
๑. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
๒. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใด ซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
๓. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่บุคคลภายนอก มีมาถึงส่วนราชการ
๔. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
๕. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับ
ส่วนหนังสือการคณะสงฆ์ พึงทราบตามลักษณะทั้ง ๕ นี้ โดยอนุโลม
หนังสือราชการ แยกโดยชนิดมี ๖ คือ
๑. หนังสือภายนอก
๒. หนังสือภายใน
๓. หนังสือประทับตรา
๔. หนังสือสั่งการ
๕. หนังสือประชาสัมพันธ์
๖. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้น หรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
หนังสือการคณะสงฆ์ พึงอนุโลมตามหนังสือราชการทั้ง ๖ นี้
- ตอนที่ ๑ หนังสือภายนอก
- ตอนที่ ๒ หนังสือภายใน
- ตอนที่ ๓ หนังสือประทับตรา
- ตอนที่ ๔ หนังสือสั่งการ
- ตอนที่ ๕ หนังสือประชาสัมพันธ์
- ตอนที่ ๖ หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้น
Views: 53