ส่วนที่ ๑๐
สมณศักดิ์
—————
สมณศักดิ์ เป็นอิสริยยศแห่งพระสงฆ์ ซึ่งองค์พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทาน เพื่อเป็นเครื่องราชสักการะ ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เป็นยอดแห่งสมณศักดิ์ทั้งมวล เพราะเป็นตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ทรงปกครองคณะสงฆ์และคณะสงฆ์อื่น สมณศักดิ์เป็นผลแห่งความดี เพราะทรงพระราชทานแก่พระสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิ มีปรีชาสามารถ มีศีลาจารวัตรดีงามและปฏิบัติงานในหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์โดยความเรียบ ร้อย สมควรได้รับการยกย่อง สมณศักดิ์แต่ละชั้นมีสุพรรณบัฏ หิรัญบัฏหรือสัญญาบัตรและพัดยศ เป็นเครื่องหมายหรือเป็นเครื่องแสดงชั้นแห่งอิสริยยศนั้น ๆ พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ เมื่อเข้าในงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธี หรืองานอื่นใดที่เสด็จพระราชดำเนิน นั่งตามลำดับอิสริยยศซึ่งได้รับพระราชทาน เช่นเดียวกับการนั่งในพระราชพิธีแห่งคฤหัสถ์ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญตราและสายสะพาย สมณศักดิ์เป็นสิ่งเอื้ออำนวยประโยชน์แก่การปกครองคณะสงฆ์เป็นอย่างมาก เป็นอุปกรณ์การปกครองคณะสงฆ์ที่สำคัญยิ่ง และสมณศักดิ์ชั้นสูงนั้นเชื่อมโยงกับตำแหน่งผู้ปกครองคณะสงฆ์ ว่าโดยประเภทมี ๗ คือ.-
๑. สมเด็จพระราชาคณะ
๒. พระราชาคณะ
๓. พระครูสัญญาบัตร
๔. ฐานานุกรม
๕. เปรียญ
๖. ประทวนสมณศักดิ์
๗. พระพิธีธรรม
- ตอนที่ ๑ สมเด็จพระราชาคณะ
- ตอนที่ ๒ พระราชาคณะ
- ตอนที่ ๓ พระครูสัญญาบัตร
- ตอนที่ ๔ ฐานานุกรม
- ตอนที่ ๕ เปรียญ
- ตอนที่ ๖ ประทวนสมศักดิ์และพระพิธีธรรม
- ตอนที่ ๗ วิธีขอสมณศักดิ์ และขอเลื่อนชั้นพระสังฆาธิการ
- ตอนที่ ๘ ลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม และเปรียญ
Views: 33