ส่วนที่ ๕ การพ้นจากตำแหน่ง พระสังฆาธิการและไวยาวัจกร

ส่วนที่ ๕

การพ้นจากตำแหน่ง

พระสังฆาธิการและไวยาวัจกร

———————–

          ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งพระสังฆาธิการและไวยาวัจกรมาตาม ลำดับ โดยยกหลักเกณฑ์และวิธีการมาแจกแจง พร้อมกับทำตัวอย่างไว้พอเป็นแนวทางปฏิบัติ  พอที่พระสังฆาธิการและเลขานุการจะยึดถือเป็นหลักปฏิบัติได้ การแต่งตั้งพระ ภิกษุและคฤหัสถ์ให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ  และให้เป็นไวยาวัจกรนั้น เป็นการบรรจุผู้มีความรู้ความฉลาดสามารถและเหมาะสมกับตำแหน่งนั้น ๆ      ให้ผู้นั้นได้มีโอกาสบริหารการคณะสงฆ์และการพระศาสนา  แต่ในบางกรณี ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งนั้น  อาจพอใจในการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ ในระยะแรก  กาลต่อมาอาจเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจในการปฏิบัติงาน หรือในบางกรณีสามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ได้ดีในระยะแรก แต่ระยะหลังหย่อนความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ในบางกรณีปฏิบัติ งานในหน้าที่มาโดยเรียบร้อยตลอดมาจนอายุครบ ๘๐ ปีบริบูรณ์   ควรได้รับการยกย่อง เชิดชู หรือในบางกรณี  ดำรงตำแหน่งหน้าที่โดยเรียบร้อยตลอดมาจนถึงชราทุพพลภาพ หรือพิการ จำเป็นต้องให้ปลดเปลื้องภาระเพื่อให้พักผ่อนหรือรักษาตัว  จึงต้องมีบท บัญญัติให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ไว้ เพราะเมื่อดำรงตำแหน่งใด ๆ ได้ ก็ย่อมพ้นจากตำแหน่งหน้าที่นั้นได้   การพ้นจากตำแหน่งนั้น  ในบางกรณี  เป็นไปเองโดยสภาพและเปิดเผยชัดเจน เช่น มรณภาพหรือตาย ลาสิกขา  แต่ในบางกรณี  ต้องมีวิธีสั่งให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งกล่าวโดยรวมว่า หลักเกณฑ์และวิธีการ คล้ายกับการแต่งตั้ง การให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ย่อมเป็นภาระของเจ้าคณะผู้บังคับบัญชาใกล้ ชิดและผู้มีอำนาจแต่งตั้ง    ดังจะกล่าวต่อไป.

Hits: 32